ปกติเคยแต่ไปพร้อมกันสามคนพ่อแม่ลูก มีบ้างที่พ่อลูกบินด้วยกันสองคน แล้วแม่ไปก่อน หรือแม่ตามไป ก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะว่าลูกกับพ่อนามสกุลเดียวกันนะคะ พกแค่พาสปอร์ต ไม่ต้องเอาอะไรไปเพิ่มเติม
แล้วทีนี้สงสยังว่าถ้าฝากให้ลูกเดินทางไปกับญาติก่อน จะไปได้มั้ยเอ่ย ไปเช็คกับกรมการกงศุลมาค่ะ (ญาติแพนด้าก็เดินทางด้วยวิธีนี้ ผ่านตม. มาเรียบร้อย แต่โดนเค้าสัมภาษณ์เยอะนิดนึง
ต้องมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ไม่งั้นเค้านึกว่าลักพาตัวเด็กเน้อ .. ทั้งพ่อแม่ที่จดทะเบียน และไม่จดทะเบียนก็ต้องยินยอมคู่กันนะคะ ดังนั้นเคสที่พ่อแม่แยกทางกันจะมีเพิ่มมาขั้นตอนนึง คือทำหนังสือรับรองการเลี้ยงดูบุตร คนไหนเป็นคนเลี้ยงดู คนนั้นเซ็นต์คนเดียวค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก consular.go.th
การรับรอง – หนังสือยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศ
การนำบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุยังไม่ถึง 20 ปี) ไปต่างประเทศ
1. กรณี บิดา – มารดา จดทะเบียนสมรสกัน
ขึ้นอยู่กับความยินยอมของ บิดา – มารดา หากยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศได้
สามารถดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 บิดา – มารดา ติดต่ออำเภอ / เขต เพื่อทำหนังสือยินยอม
1.2 นำหนังสือยินยอม ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
1.3 นำหนังสือยินยอม + คำแปลภาษาอังกฤษ มายื่นขอรับรองนิติกรณ์
ที่กองสัญชาติฯ กรมการกงสุล
1.4 เมื่อเอกสารได้รับการรับรองแล้ว สามารถนำไปให้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ
ที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยรับรองอีกครั้ง
2. กรณี บิดา – มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
2.1 บิดา – มารดา อยู่ด้วยกัน และยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศ ให้ดำเนินการ ดังนี้
– บิดา – มารดา ติดต่ออำเภอ / เขต เพื่อทำหนังสือยินยอม
– นำหนังสือยินยอม ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
– นำหนังสือยินยอม + คำแปลภาษาอังกฤษ มายื่นขอรับรองนิติกรณ์
ที่กองสัญชาติฯ กรมการกงสุล
– เมื่อเอกสารได้รับการรับรองแล้ว สามารถนำไปให้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ
ที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยรับรองอีกครั้ง
2.2 บิดา – มารดา แยกทางกัน และไม่สามารถติดต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ ให้ดำเนินการ ดังนี้
– ให้ บิดา หรือ มารดา ผู้ที่จะนำบุตรไปต่างประเทศ ติดต่ออำเภอ / เขต
เพื่อทำหนังสือรับรองอุปการะเลี้ยงดูบุตร ว่าบุตรอยู่ในความดูแลของใคร และผู้นั้น
เป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมแต่เพียงผู้เดียว
– นำหนังสือยินยอม ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
– นำหนังสือยินยอม + คำแปลภาษาอังกฤษ มายื่นขอรับรองนิติกรณ์
ที่กองสัญชาติฯ กรมการกงสุล
– เมื่อเอกสารได้รับการรับรองแล้ว สามารถนำไปให้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ
ที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยรับรองอีกครั้ง