เข้าช่วงหน้าฝนฝนทีไร พ่อแม่หลายคนคงอดห่วงลูกน้อยไม่ได้ เพราะเด็กเล็กๆ ยังมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอจะต้านทานโรคปอดอักเสบ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “โรคปวดบวม” ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวใกล้ตัวลูกสำหรับหน้าฝน พ่อแม่จึงไม่ควรละเลยที่จะหาทางรับมือและป้องกันลูกน้อยอย่างถูกวิธี
รู้จักการแพร่เชื้อ…เพื่อป้องกัน
เชื้อโรคปอดอักเสบ มักแฝงอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายโดยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น ฉีดยา การให้น้ำเกลือ เป็นต้น
มารู้จักวิธีห่างไกลจากโรคปอดอักเสบ
- หลีกเลี่ยงให้เด็กอยู่ในที่แออัดโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดโรคระบาด
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันไอรถยนต์ หรืออากาศหนาวเย็น
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล
- ไม่ควรให้เด็กเล็กต่ำกว่า 1 ขวบ และผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วย
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ใช้ช้อนกลางรับประทานอาหาร ควรกำชับลูกไม่ให้ใช้หลอดดูดน้ำ หรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
- ฉีดวัคซีน เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ไอพีดี หรือฮิบ
ทั้งนี้หากสงสัยว่าลูกน้อยมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
รู้ทัน…ตั้งแต่ต้นเหตุ
เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมป้องกันโรคปอดอักเสบ พ่อแม่ควรจะทราบถึงต้นเหตุหลัก โดยมี 2 สาเหตุ คือ
- โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ
- โรคปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่เชื้อโรคปอดอักเสบที่เกิดในกลุ่มเด็กเล็ก จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยคือ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV) เชื้อ Influenza (ไข้หวัดใหญ่) เชื้อ Parainfluenza ส่วนกลุ่มเด็กเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus Pneumoniae มากที่สุด และเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ เชื้อ Haemophilus Influenzae type B หรือ ฮิบ , เชื้อ Staphylococcus Aureus หรือกลุ่มเชื้อ Mycoplasma Pneumonia.Chlamydia Pheumonia เป็นต้น
รู้ทันปอดบวม เมื่อลูกมีอาการป่วย
- มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ หรือมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว ดูดนมลำบาก อกบุ๋ม และอาจมีอาการตัวเขียวได้
- บางรายมีอาการร้องกวนบ่อย งอแง กระสับกระส่าย และศีรษะสั่น
- บางรายอาจมีไข้หรือไม่มี อาจมีอาการซึม อาเจียน ไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ
รู้ไว้… เฝ้าระวัง
- ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อลูกป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ
- ภาวะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ในกรณีที่ติดเชื้อจากแบคทีเรีย
- ภาวะซ็อก ในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง
- ภาวะมีน้ำในเนื้อเยื้อหุ้มปอด หรือเป็นหนองในเยื้อหุ้มปอด
- ภาวะมีฝีในปอด
กุมารแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล